ให้ความหมาย การจัดการชั้นเรียนและการบริหารการศึกษา
การจัดการชั้นเรียน หมายถึง
โบรฟี ให้ความหมายว่า การจัดการชั้นเรียน คือ การที่ครูสร้างและคงสภาพสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่ประสบการผลสำเร็จทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การสร้างกฎระเบียบและการดำเนินการที่ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการมีส่วน ร่วมในกิจกรรมทางวิชาการในชั้นเรียน
เบอร์เดน ให้ความหมายว่า การจัดการชั้นเรียนคือยุทธศาสตร์และการปฏิบัติที่ครูใช้เพื่อคงสภาพความเป็นระเบียบเรียบร้อย
สุรางค์ โค้วตระกูล ให้ความหมายว่า การจัดการชั้นเรียนคือการจัดการห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพว่า หมายถึงการสร้างและการรักษาสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนหรือหมายถึงกิจกรรมทุกอย่างที่ครูทำเพื่อจะช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ซูซาน ให้ความหมายว่า การจัดการชั้นเรียน คือ พฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
อ้างอิง กฤษฎา รัตนสมบูรณ์และจุฑารัตน์ ปัญจระ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ [Online]. available : http://inded.rmutsv.ac.th/datapdf/08/2010-08-09_07-52-43_chaiya.pdf
การบริหารการศึกษาหมายถึง
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผน
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับตั้งแต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ พฤติกรรมและคุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆที่อาศัยการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีต่อบุคคล เพื่อให้บุคคลพัฒนาตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
อ้างอิง รองศาสตราจารย์หวน พินธุพันธ์ [Online]. available facstaff.swu.ac.th
สรุป การจัดการชั้นเรียนและการบริหารการศึกษาเป็นแนวทางที่นำไปจัดบรรยากาศและกิจกรรมในชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจและตั้งใจเรียนและยังเป็นแนวทางในการฝึกสอนในอาชีพครูในอนาคต