วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553
กิจกรรมที่ 6
ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้ สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
สรุป
ทุกวิชาชีพย่อมจะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพการที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือ สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก และได้รับการยกย่อง
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักที่จะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด
ผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
การนำไปประยุกต์ใช้
เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมี กลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ
เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมี กลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ
( มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรสภา ๒๕๔๘ : ๓ )
- ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาต หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
- ต้องประพฤติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
- บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ มีสิทธิกล่าวหา กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
- เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้
- ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาต หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
- ต้องประพฤติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
- บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ มีสิทธิกล่าวหา กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
- เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้
แสดงความคิดเห็น
การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะจะมีการพัฒนาอาชีพครูให้มีคุณภาพ แต่การเป็นครูต้องเก่งหลายด้าน ที่สำคัญต้องมีเทคนิคที่ดีในการสอนอยากให้มีการพัฒนาด้านเทคนิคการสอนเยอะๆเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญในอาชีพครู ครูมีความรู้เก่งเป็นสิ่งที่ถูกแล้วแต่เก่งไม่มีเทคนิคการสอนที่ดีเด็กก็ไม่เข้าใจ
การนำไปใช้
1. เป็นแนวทางในการเตรียมพร้อมตัวเองในการประกอบอาชีพครูให้ตรงตามมาฐานที่กำหนด
2. ทราบว่าอาชีพครูต้องมีความเก่งทุกๆด้าน
วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
กิจกรรมที่ 5
อ่านบทความเรื่องต้นแบบการเรียนรู้และสรุปสิ่งที่ได้ประโยชน์ที่นำไปใช้
ต้นแบบแห่งการเรียนรู้
พระเทพโสภน (ประยูร ธมมจิตโต) อธิการบดีมหาวิทยามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
มี 2 นัย
นัยแรก แม่แบบผู้ดูเอาแบบอย่างแล้วเอาไปประยุกติ์แบบ
นัยสอง ฐานะเป็นแรงบันดาลใจ ใฝ่รู้ เป็นกำลังใจ นัยนี้ไม่ต้องถ่ายทอดจาก ต้นแบบแค่มองเป็นแรงบันดาลใจ
ถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้ การมีต้นแบบที่ดีย่อมมีกำลังใจ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ
1. ต้นแบบสอนให้รู้
2. ต้นแบบทำให้เห็น
3.ต้นแบบอยู่ให้เห็น
ครูเป็นต้นแบบที่ดีเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่เกิดครูดีศิษย์ก็ขยายวงศ์ต่อๆไป
สิ่งที่ได้
การมีต้นแบบที่ดีย่อมมีกำลังใจ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ
1. ต้นแบบสอนให้รู้
2. ต้นแบบทำให้เห็น
3. ต้นแบบอยู่ให้เห็น
ครูเป็นต้นแบบที่ดีเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดีศิษย์ก็ขยายวงค์ต่อๆไป
ประโยชน์ที่ได้
1. เห็นความสำคัญในอาชีพครูและความมีบทบาทต่อศิษย์
2. เป็นแนวในการเตรียมพร้อมตนเองในการประกอบอาชีพครูในอนาคต
3. เป็นต้นแบบที่ดีแค่ศิษย์และสังคมได้
ต้นแบบแห่งการเรียนรู้
พระเทพโสภน (ประยูร ธมมจิตโต) อธิการบดีมหาวิทยามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
มี 2 นัย
นัยแรก แม่แบบผู้ดูเอาแบบอย่างแล้วเอาไปประยุกติ์แบบ
นัยสอง ฐานะเป็นแรงบันดาลใจ ใฝ่รู้ เป็นกำลังใจ นัยนี้ไม่ต้องถ่ายทอดจาก ต้นแบบแค่มองเป็นแรงบันดาลใจ
ถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้ การมีต้นแบบที่ดีย่อมมีกำลังใจ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ
1. ต้นแบบสอนให้รู้
2. ต้นแบบทำให้เห็น
3.ต้นแบบอยู่ให้เห็น
ครูเป็นต้นแบบที่ดีเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่เกิดครูดีศิษย์ก็ขยายวงศ์ต่อๆไป
สิ่งที่ได้
การมีต้นแบบที่ดีย่อมมีกำลังใจ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ
1. ต้นแบบสอนให้รู้
2. ต้นแบบทำให้เห็น
3. ต้นแบบอยู่ให้เห็น
ครูเป็นต้นแบบที่ดีเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดีศิษย์ก็ขยายวงค์ต่อๆไป
ประโยชน์ที่ได้
1. เห็นความสำคัญในอาชีพครูและความมีบทบาทต่อศิษย์
2. เป็นแนวในการเตรียมพร้อมตนเองในการประกอบอาชีพครูในอนาคต
3. เป็นต้นแบบที่ดีแค่ศิษย์และสังคมได้
กิจกรรมที่ 4
อ่านบทความและสรุป
สภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวัดความรู้เพื่อสังคม
ประเด็นเรื่องการอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอดไม่ใช่เป็นสายพันธ์ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ปรับเปลี่ยนมุมมอง(ทิฏฐิ) และทัศนคติ การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดอยู่กับความคิด ต่อความรู้เดิมถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจไม่อคติ
การสร้างการเปลี่ยนแปลง
เรื่องเกี่ยวกับคน เราต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำมากกว่าจะใช้การจัดการภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ การทำงานเราต้องสร้างความศรัทธาต่างหากที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำนี้สำเร็จ(ศรัธาในตัวผู้นำ) คนส่วนใหญ่ว่าปัจจัยหลักในการสร้างศรัทธาให้เกิดตัวผู้นำสิ่งนั้นคือคุณสมบัติในเรื่องการเป็น "ผู้ให้" นักปรัญาชาวอังกฤษ กล่าวว่าผู้ที่ให้มักจะเป็นผู้ที่ได้รับอะไรๆอยู่เสมอทั้งๆที่ตัวเขาไม่ได้คาดหวังอะไรเป็นสิ่งตอบแทน
กิจกรรมที่ 3
ประวัติ
ชื่อเล่น : ครูพร
ชื่อจริง : พรชัย นามสกุล ภาพันธ์
อาชีพ : รับราชการ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63 (ชุมชนบ้านคำแดง)
ตำบเดิด อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
การศึกษา : ปริญญาโท การบริหารการศึกษาจากสถาบันราชภัฏ อุบลราขธานี
ชอบประเด็น
ชื่อเล่น : ครูพร
ชื่อจริง : พรชัย นามสกุล ภาพันธ์
อาชีพ : รับราชการ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63 (ชุมชนบ้านคำแดง)
ตำบเดิด อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
การศึกษา : ปริญญาโท การบริหารการศึกษาจากสถาบันราชภัฏ อุบลราขธานี
ผลงาน : เขียนบทความวิชาการประมาณ 20 เรื่องตีพิมพ์วารสารวิชาการ ผลงานล่าสุดบทความเรื่องศิลปการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ
ชอบประเด็น
ผู้บริหารคือผู้ที่ทำงานให้ประสบความสำเร็จโดยอาศัยบุคคลอื่น ภารกิจของผู้บริหารจึงเป็นการ สงเสริมให้ครูทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ บทบาทหน้าที่จึงต้องสวมหมวก สองใบคือบทบาทผู้บริหารและบทบาทนักวิชาการ
นักวิชาการอันเป็นภารกิจหลักในการจัดการศึกษาการปฏิรูปการศึกษารอบสองมุ่งสร้างความตระหนักให้บุคลากรทางการศึกษาได้กลับมาทบทวนบทบาทหน้าที่ภารกิจโดยเฉพาะผู้บริหารต้องหันมาให้ความสำคัญกับการบริหารงานวิชาการ อันเป็นหัวใจหลักของการจัดการศึกษาที่เต็มไปด้วยการแข็งขัน ภาวะผู้นำทางวิชาการจึงเป็นเครื่องมือในการบริหารโรงเรียนให้ก้าวสู่ความสำเร็จที่ท้าทาย
อ้างอิง gotoknow.org/blog/phapun/299802
สรุป การจะเป็นผู้บริหารต้องเก่งในด้านวิชาการเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จและการร่วมมือกับผู้อื่น อีกอย่างต้องมีความเป็นภาวะผู้นำในตัวเองด้วยจากการศึกษาข้าพเจ้า ได้ความรู้ในการวางแผนให้แก่ตนเอง คือ การเตรียมพร้อมตัวเองให้เก่งงานวิชาการและแน่นความรู้เพราะจะทำให้ง่ายในการสอนและอีกอย่างต้องสร้างภาวะผู้นำให้ตนเองเพราะในอานคตเราเป็นครูซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวอย่างแก่ผู้เรียน
วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553
กิจกรรมที่ 2
ศึกษาทฤษฎีและหลักบริหารจัดการ
ทฤษฎีบรรยากาศ อลัน บราวน์ ได้เสนอกลยุทธ์สองประการสำหรับเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโรงเรียน ประการแรก ได้แก่กลยุทธ์ด้านคลินิก ประการที่สอง ได้แก่กลยุทธ์ที่มุ่งความเจริญงอกงามเป็นศูนย์กลาง ทั้งสองกลยุทธ์นี้ต่างก็ไม่ได้เป็นตัวเลือกแก่กันและกัน แต่สามารถใช้ด้วยกัน โดยเรียงตามลำดับ และทั้งสองกลยุทธ์ต่างก็จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง กลยุทะด้านคลินิกนั้นเน้นที่ธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มย่อยในโรงเรียนในขณะที่กลุ่มมุ่งความเจริญงอกงามเป็นศูนย์กลางนั้นเน้นที่การพัฒนาของบุคคล
กลยุทธ์คลินิกนั้น ประการแรก มุ่งดูที่ความรู้ขององค์การต่อจากนั้นก็วิเคราะห์บรรยากาศขององค์การ ต่อจากนั้นก็วิเคราะห์บรรยากาศขององค์การ กำหนดลำดับขั้นความสำคัญของการปฏิบัติการ และวางแผนดำเนินการ เมื่อปฏิบัติสำเร็จแล้ว ก็มีการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น
สำหรับกลยุทธ์มุ่งความเจริญงอกงามเป็นศูนย์กลาง นั้นมองว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องมีทิศทางแน่ชัด และควรจะนำไปสู่ความก้าวหน้า ครูอาจารย์มีศักยภาพสูงมากที่จะพัฒนาและนำเอาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ( ฮอยและมิสเกล, 1978 : 165-167 )
ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ได้มีการวิจัยสอบถามอาจารย์ใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 232 โรงในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แล้วผลที่ได้ปรากฏว่า อาจารย์ใหญ่มีความพึงพอใจที่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อาจารย์ใหญ่ผู้ที่สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ปรากฏว่าเป็นผู้ที่เตรียมการมาดี หาข้อมูล อยู่ระหว่างข้อเท็จจริง กับความคิดเห็นได้อย่างชัดเจน และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างจริงใจด้วย สำหรับอาจารย์ใหญ่ผู้มีประสิทธิภาพด้อยกว่า ล้วนแต่เป็นผู้ที่ไม่ได้เตรียมการมาสำหรับการที่จะตัดสินใจนั้นเลย
สิ่งที่ค้นพบจากการวิจัยเรื่องการมีส่วนในการวินิจฉัยสั่งการมีดังนี้
1. การมีโอกาสร่วมตัดสินใจทำให้ครูมีขวัญดี
2. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อความพึงพอใจต่อวิชาชีพ
3. ครู อาจารย์พึงพอใจอาจารย์ใหญ่ที่ส่งเสริมให้เขาเข้าร่วมตัดสินใจ
4. ครูอาจารย์มิได้คาดหวังจะเข้ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเสียทุกเรื่องไป เขาอยากเข้าร่วมตัดสินใจเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเขา หรือผลประโยชน์ของเขาเท่านั้น
5. องค์ประกอบทั้งภายในและภายนอกมีผลกระทบต่อระดับของการมีส่วนร่วมในการตัตสิ้นใจ ( ฮอยและมิสเกล, 1978: 228
ทฤษฎีอำนาจและความขัดแย้งในสถาบันการศึกษาของวิคเตอร์ บอลด์ริดจ์
ทฤษฎีเน้นที่ตัวแบบทางการเมือง ( Political model ) เป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์ด้านสังคมวิทยาตั้งแต่สมัยของคาร์ล มาร์กซ์ เป็นต้นมานักทฤษฎีความขัดแย้งเน้นที่การแยกส่วนของระบบสังคมออกเป็นกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็มีเป้าประสงค์ที่ต่างกันออกไป ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้ และแต่กลุ่มต่างก็พยายามที่จะได้เปรียบอีกกลุ่มหนึ่งหรืออีกหลาย ๆ กลุ่ม ( บอลด์ริดจ์ , 1971: 17 )
วิธีการจัดกลุ่มทฤษฎีการบริหารการศึกษาตามทัศนะของฮอยและมิสเกล
ฮอยและมิสเกลได้จัดกลุ่มทฤษฎีการบริหารการศึกษาเอาไว้ดังนี้
1.ทัศนะด้านแนวความคิดสำหรับการวิเคราะห์ ( Conceptual perspectives for analysis ) วิเคราะห์โรงเรียนว่าเป็นองค์การแบบหนึ่ง และวิเคราะห์ว่าโรงเรียนเป็นระบบของสังคม
2. ระบบราชการและโรงเรียน ( Bureaucracy and the school ) กล่าวถึงแนวความคิดของอำนาจหน้าที่ตัวแบบของแมกซ์ เวเบอร์ เกี่ยวกับระบบราชการ และโครงสร้างของระบบราชการในโรงเรีย
3. ความเป็นวิชาชีพในระบบราชการของโรงเรียน
( The professional in the school bureaucracy ) กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างความเป็นวิชาชีพกับระบบราชการการนำเอาความเป็นวิชาชีพแลชะระบบราชการเข้าไปใช้ในโรงเรียน ความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่ในโรงเรียนบทบาทของอาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และความซื่อสัตย์ของครูอาจารย์
4. แรงจูงใจ สิ่งจูงใจ และความพึงพอใจ ( Motivation, incentives and satisfaction ) กล่าวถึง แรง จูงใจในการทำงาน ทฤษฎีวุฒิภาวะของอากิริส ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ ทฤษฎีสององค์ ประกอบของเฮอร์ซเบิร์ก ทฤษฎีการก่อตัวขึ้นใหม่ ( Reformulated theory )ทฤษฎีความคาดหวัง ( Expectancy theory ) แรงจูงใจและการปฏิบัติงาน สิ่งจูงใจในองค์การ ความพึงพอใจในงาน ความพึงพอใจต่อผลการปฏิบัติงาน ทฤษฎีแรงจูงใจและสิ่งจูงใจ
5. บรรยากาศขององค์การ ( Organizational climate ) กล่าวถึงพฤติกรรมของครูอาจารย์และอาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการ ตั้งแต่เปิดไปจนถึงปิด ระบบการจัดการ ตั้งแต่เอาเปรียบ หวงอำนาจ ไปจนถึงการร่วมมือประสานงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วมการปฐมนิเทศแบบควบคุมนักเรียน การอารักขานักเรียน แรงบีบคั้นจากสิ่งแวดล้อมการพัฒนาและการควบคุม ทฤษฎีบรรยากาศ : การนำเอาไปปฏิบัติ
6. ภาวะผู้นำ ( Leadership ) กล่าวถึงทฤษฎีคุณลักษณะ-สถานการณ์ที่ขัดแย้งกันอยู่ทิศทาง ภาวะผู้นำ ความมีประสิทธิผลของผู้นำ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยเกี่ยวกับผู้นำในอนาคต
7. การวินิจฉัยสั่งการ ( Decision making ) ทฤษฎีการวินิจฉัยสั่งการกระบวนการวินิจฉัยสั่งการ : วงจนแห่งการปฏิบัติ การวินิจฉัยสั่งการในการบริหารการศึกษา การมีส่วนร่วมในการวินิจฉัยสั่งการ ตัวแบบสำหรับการวินิจฉัยสั่งการรวมกัน : แนวทางสำหรับนำไปประยุกต์ใช้
8. การติดต่อสื่อสาร ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร การวิจัยเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารในการบริหาร การศึกษา ทฤษฎีการสื่อสาร : การนำไปประยุกต์ใช้ ( ฮอยและมิสเกล, 1978 : หน้าสารบัญ vii-xii )
Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
มาสโลว์เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษย์นิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันเป็นอันมาก ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ
มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ บุคคลที่มีความต้องการประเภทนี้จะเป็นผู้ที่มีความมั่นใจในตนเอง
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต (Self–ActualizationNeeds)หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment) รู้จักค่านิยม มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ
2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป
3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ บุคคลที่มีความต้องการประเภทนี้จะเป็นผู้ที่มีความมั่นใจในตนเอง
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต (Self–ActualizationNeeds)หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment) รู้จักค่านิยม มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ
2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป
3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ
อ้างอิง : ปราชญา กล้าผจัญ และสมศักดิ์ คงเที่ยง.2542. หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์
สรุป ทฤษฎีที่ได้ศึกษาทำให้สามารถนำความรู้ไปบริหารจัดการห้องเรียนได้ เช่น ทฤษฎีแรงจูงใจ มาส โลว์ เราต้องเรียงสำดับความต้องการของเด็กแล้วสร้างความแรงใจให้เด็กสนใจ และพร้อมสร้างบรรยากาศของ ทฤษฎีบรรยากาศ อลัน บราวน์ หาศูนย์กลางและปรึกษาร่วมตัดสินใจกับผู้เรียน
วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
กิจกรรมที่ 1
ให้ความหมาย การจัดการชั้นเรียนและการบริหารการศึกษา
การจัดการชั้นเรียน หมายถึง
โบรฟี ให้ความหมายว่า การจัดการชั้นเรียน คือ การที่ครูสร้างและคงสภาพสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่ประสบการผลสำเร็จทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การสร้างกฎระเบียบและการดำเนินการที่ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการมีส่วน ร่วมในกิจกรรมทางวิชาการในชั้นเรียน
เบอร์เดน ให้ความหมายว่า การจัดการชั้นเรียนคือยุทธศาสตร์และการปฏิบัติที่ครูใช้เพื่อคงสภาพความเป็นระเบียบเรียบร้อย
สุรางค์ โค้วตระกูล ให้ความหมายว่า การจัดการชั้นเรียนคือการจัดการห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพว่า หมายถึงการสร้างและการรักษาสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนหรือหมายถึงกิจกรรมทุกอย่างที่ครูทำเพื่อจะช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ซูซาน ให้ความหมายว่า การจัดการชั้นเรียน คือ พฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
อ้างอิง กฤษฎา รัตนสมบูรณ์และจุฑารัตน์ ปัญจระ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ [Online]. available : http://inded.rmutsv.ac.th/datapdf/08/2010-08-09_07-52-43_chaiya.pdf
การบริหารการศึกษาหมายถึง
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผน
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับตั้งแต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ พฤติกรรมและคุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆที่อาศัยการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีต่อบุคคล เพื่อให้บุคคลพัฒนาตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
อ้างอิง รองศาสตราจารย์หวน พินธุพันธ์ [Online]. available facstaff.swu.ac.th
สรุป การจัดการชั้นเรียนและการบริหารการศึกษาเป็นแนวทางที่นำไปจัดบรรยากาศและกิจกรรมในชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจและตั้งใจเรียนและยังเป็นแนวทางในการฝึกสอนในอาชีพครูในอนาคต
วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
แนะนำตัวเอง
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ จริยา นามสกุล ศรีวิชัย
ชื่อเล่น น้อย
ชื่อบิดา จตุรงค์ นามสกุล ศรีวิชัย
ชื่อมารดา สุรัช นามสกุล ศรีวิชัย
มีพี่น้อง 6 คน หญิง 4 คน ชาย 2 คน เป็นบุตรคนที่ 4
- เรียนอนุบาลและประถมศึกษา โรงเรียนบ้านเขาวง ต.บ้านนิคม อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช
- เรียนมัธยมต้น โรงเรียนสังวาลวิทย์ 7 ต.บ้านลำนาว อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช
- เรียนมัธยมปลาย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 ต.หนองหงส์ อ.ทุ่งสง
จ.นครศรีธรรมราช
- ปัจจุบันศึกษาอยู่มหาวิยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช คณะครุศาสตร์ เอก สังคมศึกษา ปี 3
ปรัชญา
สู้ อดทน ขยัน ไม่ท้อ อนาคตจะดีเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)