วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2

   
ศึกษาทฤษฎีและหลักบริหารจัดการ
          ทฤษฎีบรรยากาศ  อลัน  บราวน์ ได้เสนอกลยุทธ์สองประการสำหรับเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโรงเรียน ประการแรก  ได้แก่กลยุทธ์ด้านคลินิก ประการที่สอง ได้แก่กลยุทธ์ที่มุ่งความเจริญงอกงามเป็นศูนย์กลาง ทั้งสองกลยุทธ์นี้ต่างก็ไม่ได้เป็นตัวเลือกแก่กันและกัน แต่สามารถใช้ด้วยกัน โดยเรียงตามลำดับ และทั้งสองกลยุทธ์ต่างก็จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง กลยุทะด้านคลินิกนั้นเน้นที่ธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มย่อยในโรงเรียนในขณะที่กลุ่มมุ่งความเจริญงอกงามเป็นศูนย์กลางนั้นเน้นที่การพัฒนาของบุคคล
            กลยุทธ์คลินิกนั้น ประการแรก มุ่งดูที่ความรู้ขององค์การต่อจากนั้นก็วิเคราะห์บรรยากาศขององค์การ ต่อจากนั้นก็วิเคราะห์บรรยากาศขององค์การ กำหนดลำดับขั้นความสำคัญของการปฏิบัติการ และวางแผนดำเนินการ เมื่อปฏิบัติสำเร็จแล้ว ก็มีการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น
            สำหรับกลยุทธ์มุ่งความเจริญงอกงามเป็นศูนย์กลาง  นั้นมองว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องมีทิศทางแน่ชัด และควรจะนำไปสู่ความก้าวหน้า ครูอาจารย์มีศักยภาพสูงมากที่จะพัฒนาและนำเอาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์     ( ฮอยและมิสเกล, 1978 :  165-167 )
       ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ได้มีการวิจัยสอบถามอาจารย์ใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 232 โรงในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แล้วผลที่ได้ปรากฏว่า อาจารย์ใหญ่มีความพึงพอใจที่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อาจารย์ใหญ่ผู้ที่สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ปรากฏว่าเป็นผู้ที่เตรียมการมาดี หาข้อมูล อยู่ระหว่างข้อเท็จจริง กับความคิดเห็นได้อย่างชัดเจน และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างจริงใจด้วย สำหรับอาจารย์ใหญ่ผู้มีประสิทธิภาพด้อยกว่า ล้วนแต่เป็นผู้ที่ไม่ได้เตรียมการมาสำหรับการที่จะตัดสินใจนั้นเลย

            สิ่งที่ค้นพบจากการวิจัยเรื่องการมีส่วนในการวินิจฉัยสั่งการมีดังนี้
   1. การมีโอกาสร่วมตัดสินใจทำให้ครูมีขวัญดี
               2.  การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อความพึงพอใจต่อวิชาชีพ
               3. ครู อาจารย์พึงพอใจอาจารย์ใหญ่ที่ส่งเสริมให้เขาเข้าร่วมตัดสินใจ
               4. ครูอาจารย์มิได้คาดหวังจะเข้ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเสียทุกเรื่องไป เขาอยากเข้าร่วมตัดสินใจเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเขา หรือผลประโยชน์ของเขาเท่านั้น
               5.  องค์ประกอบทั้งภายในและภายนอกมีผลกระทบต่อระดับของการมีส่วนร่วมในการตัตสิ้นใจ  ( ฮอยและมิสเกล, 1978:  228
                   ทฤษฎีอำนาจและความขัดแย้งในสถาบันการศึกษาของวิคเตอร์   บอลด์ริดจ์          
                ทฤษฎีเน้นที่ตัวแบบทางการเมือง  ( Political model )  เป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์ด้านสังคมวิทยาตั้งแต่สมัยของคาร์ล มาร์กซ์ เป็นต้นมานักทฤษฎีความขัดแย้งเน้นที่การแยกส่วนของระบบสังคมออกเป็นกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็มีเป้าประสงค์ที่ต่างกันออกไป ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้ และแต่กลุ่มต่างก็พยายามที่จะได้เปรียบอีกกลุ่มหนึ่งหรืออีกหลาย ๆ กลุ่ม  ( บอลด์ริดจ์ , 1971: 17 )

วิธีการจัดกลุ่มทฤษฎีการบริหารการศึกษาตามทัศนะของฮอยและมิสเกล
  ฮอยและมิสเกลได้จัดกลุ่มทฤษฎีการบริหารการศึกษาเอาไว้ดังนี้
               1.ทัศนะด้านแนวความคิดสำหรับการวิเคราะห์  ( Conceptual perspectives for analysis ) วิเคราะห์โรงเรียนว่าเป็นองค์การแบบหนึ่ง และวิเคราะห์ว่าโรงเรียนเป็นระบบของสังคม
               2. ระบบราชการและโรงเรียน  ( Bureaucracy and the school )  กล่าวถึงแนวความคิดของอำนาจหน้าที่ตัวแบบของแมกซ์ เวเบอร์ เกี่ยวกับระบบราชการ และโครงสร้างของระบบราชการในโรงเรีย
                 3. ความเป็นวิชาชีพในระบบราชการของโรงเรียน 
             ( The professional in the school bureaucracy )  กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างความเป็นวิชาชีพกับระบบราชการการนำเอาความเป็นวิชาชีพแลชะระบบราชการเข้าไปใช้ในโรงเรียน ความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่ในโรงเรียนบทบาทของอาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และความซื่อสัตย์ของครูอาจารย์
                4.  แรงจูงใจ สิ่งจูงใจ และความพึงพอใจ  ( Motivation, incentives and satisfaction )  กล่าวถึง   แรง    จูงใจในการทำงาน ทฤษฎีวุฒิภาวะของอากิริส ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ ทฤษฎีสององค์  ประกอบของเฮอร์ซเบิร์ก   ทฤษฎีการก่อตัวขึ้นใหม่ ( Reformulated theory )ทฤษฎีความคาดหวัง  ( Expectancy theory )  แรงจูงใจและการปฏิบัติงาน สิ่งจูงใจในองค์การ ความพึงพอใจในงาน ความพึงพอใจต่อผลการปฏิบัติงาน ทฤษฎีแรงจูงใจและสิ่งจูงใจ
            5.   บรรยากาศขององค์การ  ( Organizational climate )  กล่าวถึงพฤติกรรมของครูอาจารย์และอาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการ ตั้งแต่เปิดไปจนถึงปิด ระบบการจัดการ ตั้งแต่เอาเปรียบ หวงอำนาจ ไปจนถึงการร่วมมือประสานงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วมการปฐมนิเทศแบบควบคุมนักเรียน การอารักขานักเรียน แรงบีบคั้นจากสิ่งแวดล้อมการพัฒนาและการควบคุม ทฤษฎีบรรยากาศ : การนำเอาไปปฏิบัติ
             6.  ภาวะผู้นำ ( Leadership )  กล่าวถึงทฤษฎีคุณลักษณะ-สถานการณ์ที่ขัดแย้งกันอยู่ทิศทาง  ภาวะผู้นำ ความมีประสิทธิผลของผู้นำ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยเกี่ยวกับผู้นำในอนาคต
             7.    การวินิจฉัยสั่งการ  ( Decision making ) ทฤษฎีการวินิจฉัยสั่งการกระบวนการวินิจฉัยสั่งการ : วงจนแห่งการปฏิบัติ การวินิจฉัยสั่งการในการบริหารการศึกษา การมีส่วนร่วมในการวินิจฉัยสั่งการ ตัวแบบสำหรับการวินิจฉัยสั่งการรวมกัน : แนวทางสำหรับนำไปประยุกต์ใช้
  8.  การติดต่อสื่อสาร  ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร การวิจัยเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารในการบริหาร   การศึกษา ทฤษฎีการสื่อสาร : การนำไปประยุกต์ใช้  ( ฮอยและมิสเกล, 1978 : หน้าสารบัญ  vii-xii  )
      Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
           มาสโลว์เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษย์นิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันเป็นอันมาก ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ
 มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
               1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
             2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
             3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
             4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ บุคคลที่มีความต้องการประเภทนี้จะเป็นผู้ที่มีความมั่นใจในตนเอง
            5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต  (Self–ActualizationNeeds)หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment) รู้จักค่านิยม มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
           1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ 
           2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป 
           3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ 
           อ้างอิง : ปราชญา  กล้าผจัญ และสมศักดิ์  คงเที่ยง.2542. หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์             
   สรุป   ทฤษฎีที่ได้ศึกษาทำให้สามารถนำความรู้ไปบริหารจัดการห้องเรียนได้  เช่น  ทฤษฎีแรงจูงใจ  มาส  โลว์ เราต้องเรียงสำดับความต้องการของเด็กแล้วสร้างความแรงใจให้เด็กสนใจ และพร้อมสร้างบรรยากาศของ ทฤษฎีบรรยากาศ  อลัน  บราวน์ หาศูนย์กลางและปรึกษาร่วมตัดสินใจกับผู้เรียน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น