วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13


คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ 

1)  ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
      ไม่ เพราะ ปัจจุบันการบริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากมีสินค้าและบริการมากมายให้เลือกและขาดการออกกำลังกาย และทำให้ การบริโภคโดยการไม่วางแผนในการกินทำให้ปัจจุบันทำให้เกิดโรดต่างๆมากมายเช่น  โรคอ้วน  เบาหวาน  เป็นต้น  
 2)  ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการ
ออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด
(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัว
อะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก  กำลัง
กายไหม)
    น้อย เพราะคนส่วนใหญ่ไม่มีเวลาในการออกกำลังกายเนื่องจากต้องทำงานและที่ออกกำลังกายมีน้อยกว่า
ถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม เป็นคำถามที่ดีถ้าเป็นอย่างนั้นเพราะโรดต่างๆเกิดจากสุขภาพไม่ดี3)  เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
     ไม่และน้อยดูได้จากปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่นกลุ่มวัยรุ่นตีกัน  คดีขมขื่น  การฆ่าตัวตาย   ส่วนใหญ่เกิดจากกลุ่มวัยรุ่นวึ่งเป็นอนาคตของชาติ  4)  ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
     ไม่แน่ใจ  แต่จากความคิดเห็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงจะส่งเสริมและเน้นวิชาการมากกว่า   การให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กโรงเรียนเล็กๆก็ทำได้บางครั้งทำได้ดีกว่า
 5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
ไม่ 
 6)  ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่าง
ไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศราย
ชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียน
เหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
  เห็นด้วย  การเลือกอาจารย์ประจำชั้น  โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  เพราะถือว่าเป็นที่ว่างใจของเด็กแล้ว
7)  โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การ
ควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต
ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบ
คุมอารมณ์”)
    มีน้อย แต่เห็นด้วยที่ โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานในการสร้างบุคลิกของบุคคลและเป็นการสร้างการอยู่ร่วมกับสังคมและสร้างฐานการเผชิญปัญหาต่างๆได้ดี
       8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็น
ระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
น้อยอยู่       
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนัก
เรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความ
รับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
มีแต่น้อยแต่ถ้าโรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพ
จิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนัก
เรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเองเป็นสื่งที่ดีเพราะการแก้
ปัญหาต้องร่วมกันทุกฝ่ายและเข้าใจเด็กด้วย
    
 การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสาคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting(2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ(Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน
สรุป  ปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน มีการปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ดิฉันเชื่อว่า จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรมและเกิดผมที่ดีต่อประเทศชาติแน่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น