วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10


1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
2) 
กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
3) 
กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
4) 
กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิตประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่านร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทยซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เม จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ พิพาทกันอยู่
 2) กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
 ใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 จะทำให้เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเปลี่ยนแปลงไป
      
กล่าวคือ กัมพูชาเริ่มเปิดเกมรุกด้านดินแดนกับพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่กัมพูชาต้องการครอบครองด้วยการนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก จากนั้นเมื่อขึ้นมรดกโลกสำเร็จเส้นเขตแดนก็จะเปลี่ยนแปลงไป เพราะส่งผลทำให้ไทยต้องสูญเสียพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ โดยกินพื้นที่ตั้งแต่อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตามขอบชายแดนตลอดไป จนถึงจันทบุรีและตราด
       
ที่สำคัญคือ ประเทศไทยและกัมพูชายังมีการประกาศอ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย ซึ่งมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกัน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 34,000 ตารางกิโลเมตร โดยฝ่ายกัมพูชาประกาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ..2515 ซึ่งวัดจากเส้นเขตแดนทางบกที่มาจรดริมทะเลตามที่ปรากฏในแผนที่ฝรั่งเศส โดยลากเส้นไหล่ทวีปพาดผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดของไทย
      
ขณะที่ฝ่ายไทยประกาศเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ..2516 โดยวัดจากเส้นเขตแดนทางบกที่จรดริมทะเลตามที่ปรากฏในแผนที่เดินเรืออังกฤษ หมายเลข 2414 โดยเส้นในช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของ กัมพูชา ส่วนเส้นช่วงที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับกัมพูชา ซึ่งพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวนั้นทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถ ตกลงกันได้
        
และด้วยเหตุดังกล่าวทำให้พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลกลายเป็น ปัญหาที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเนื่องจากฝ่ายกัมพูชาต้องการครอบครอง และถูกนำไปเชื่อมโยงกับการนำ “ปราสาทพระวิหาร” ไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพราะในการเป็นมรดกโลกนั้นจะต้องมีเขตพื้นที่กันชน ซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า จะเข้ามาล่วงล้ำอธิปไตยของไทย
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร  
  นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีในยุคที่มีการเซ็น MOU ...สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นคนเซ็นลงนามในหนังสือดังกล่าวร่วมกับ นายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลที่รับผิดชอบกิจการชายแดนของกัมพูชา นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายชวนนท์ อินทรโกมาลสุตย์
ทั้งๆ ที่ความจริงก็คือ MOU ฉบับดังกล่าวเป็น MOU ซึ่งทำให้ไทยต้องสูญเสียอธิปไตยในผืนแผ่นดินของตัวเองด้วยการยอมรับแผนที่ มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “ระวางดงรัก” หรือ ANNEX1 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนเป็นจำนวนมากโดยกินพื้นที่ตั้งแต่ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตามขอบชายแดนตลอดไป จนถึงจันทบุรีและตราด
     
ทั้งนี้ MOU 43 คือการร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ข้อ ก. อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับ ลงวันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก 112 หรือปี ค..1893 ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศกปี 122 ปี ค.. 1904  ข้อ ข. สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 ปี ค.. 1907 หรือว่า 2450 กับพิธีศาลว่าด้วยการปักปันเขตแดน แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 หรือ ปี ค.. 1907
  
  4.
กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิตประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
 5.. นายคำนูณ สิทธิสมาน ส..สรรหา แกนนำกลุ่ม 40  .. เปิดเผยว่า  วันนี้ตนพร้อมด้วย ส.. ในกลุ่มอีก  2 คนได้เดินทางลงพื้นที่ ต.บ้านใหม่นองไทร  อ.อรัญประเทศ  จ.สระแก้ว ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากจุดที่ 7 คนไทยถูกจับ ได้พบกลุ่มชาวบ้านกว่า 10 คนทั้งหมดล้วนมีเอกสารสิทธิในที่ดินที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นของเขาทั้ง นส. 3 . นส.  2 หรือ สค 1 โดยทั้งหมดเสียภาษีให้กับรัฐบาลไทยทุกปีแต่ไม่สามารถเข้าไปทำมาหากินได้   เพราะตั้งแต่ปี พ.. 2518 ยูเอ็นได้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตอพยพหนีภัยสงครามของชาวเขมร แต่เมื่อสงครามจบสิ้นก็ไม่ยอมกลับประเทศ
    โดยเฉพาะในจุดที่ 7 คนไทยถูกจับนั้นเป็นของไทยแน่นอนเพราะมีหลักฐานว่าเป็นที่ดินของนายเบ พูลสุข ซึ่งปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ยังเหลือแต่ลูกสาว แต่ผู้นำรัฐบาลโดยเฉพาะนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กลับไปยอมรับว่าคนไทยทั้ง 7 คนรุกล้ำเข้าในแผ่นดินกัมพูชา ปัญหาเหล่านี้เคยร้องเรียนตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ครั้งนั้นพล..ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี
    วันนี้เราปล่อยให้ไปขึ้นศาลแล้ว ถ้าขอกลับมาได้โดยยอมรับคำพิพากษาก็จะเกิดปัญหาทันที เพราะว่าเขตแดนที่ปักหลักเขตที่เห็นในภาพ ตรงนั้นไม่ใช่เขตแดนจริงตามที่ได้ข้อมูลจากทางราชการ แต่เป็นการปักเขตแดนในสมัยสงคราม ซึ่งยังไม่มีการวัดเขตแดนจริง ถ้ารัฐบาลดำเนินการพลาด เรื่องนี้ก็จะคล้ายกับเขาพระวิหารเมื่อถามว่าหากเข้าสู่กระบวนการของการพิจารณาไปแล้วจะมีปัญหาในการเจรจาเรื่องเขตแดนในอนาคตหรือไม่ อย่างที่บอกว่าดินแดนตรงนั้นเข้าปักเขตขึงลวดหนามตอนที่รบกัน เพื่อกั้นเขตไว้ แต่กรณีนี้เป็นการคบเด็กสร้างบ้าน เดินเข้าไปอย่างหน้าตาเฉย ตนบังเอิญเจอ ส.. พรรคประชาธิปัตย์ มีหลายคนก็บอกว่านายพนิช อ่อนหัดจริงๆ เป็นถึง ส.. แต่กลับให้กลุ่มพันธมิตร ใช้ประโยชน์ตนเอง ส่วนวิธีการใช้คนไปทำงาน โดยปกตินายกก็สามารถใช้ได้ ไม่เว้นแม้แต่งานลับนั้น ตนถือว่าทำได้แต่ต้องไม่ละเมิดกฎหมายอันไม่ชอบ โดยเฉพาะกฎหมายระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ถ้าเป็นสหรัฐอเมริกา ควรต้องลาออกแล้ว เพราะมีการทำผิดหลายรอบ แสดงให้เห็นว่าไม่มีทักษะ
วิธีที่จะนำไปสอน
  1. เราต้องอธิบายความเป็นมาความสำคัญให้าด็กทราบก่อน
  2. ทราบแล้วพาเด็กล่วงสึกประเด็นปัญหาเบื้องหลังที่เคยเกิดข้อพิพาทกันมาก่อน
  3. นำเด็กศึกษากรณีเหตุที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ปัจจุบันแล้วให้เด็กวิเคราะห์ตามหลักฐานและความคิดของนักเรียนโดยครูจะเป็นผู้อธิบายข้อเท็จจริงให้แก่เด็ก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น